ในสมัยพุทธกาล มีชาวนาครอบครัวหนึ่ง มีบุตรชายและบุตรสาว เมื่อบุตรชายเจริญวัยพอที่จะมีครอบครัวได้แล้ว พราหมณ์จึงได้ไปขอนางกุมารีจากครอบครัวที่มีตระกูลเสมอกัน มาเป็นภรรยาของบุตรตน
“เธอทั้งหลาย จงระลึกถึงความตายอยู่เสมอ ชีวิตเป็นของไม่แน่นอน บางคนตายตั้งแต่ยังเป็นเด็ก เป็นหนุ่มสาว หรือเป็นผู้ใหญ่แล้วก็ได้ ที่แน่นอนคือทุกชีวิตต้องตาย ขอให้เธอทั้งหลายจงระลึกเช่นนี้อยู่เสมอ”
พราหมณ์เห็นลูกชายหายไปนาน จึงออกตามหา ในที่สุดไปพบร่างไร้วิญญาณของลูกชายนอนอยู่ข้างกองฟาง จึงอุ้มขึ้นไปวางไว้บนคันนา เอาผ้าคลุม แล้วกำหนดในใจว่า
“ชีวิตเป็นของไม่เที่ยง มีความตายเป็นธรรมดา”
แล้วก็กลับไปไถนาตามเดิม พอดีเพื่อนบ้านเดินผ่านมา พราหมณ์จึงไหว้วานเขาว่า
ฝ่ายแม่บ้านและทุกคนในครอบครัว เมื่อได้รับคำบอกเล่าเช่นนั้น ก็รู้ได้ทันทีว่าเกิดอะไรขึ้นกับลูกชาย จึงจัดเตรียมอาหารแล้วนุ่งห่มด้วยผ้าขาวออกไปยังที่นา
ขณะที่ไฟกำลังลุกไหม้อยู่นั้น ชาวบ้านมามุงดูกันมาก แต่แปลกใจที่ไม่เห็นมีใครร้องไห้เสียใจเลย จึงถามขึ้นว่า
“ผู้ตายเป็นใคร ทำไมไม่มีใครเศร้าโศกเสียใจเลย”
“เป็นลูกชายคนเดียวของผมเอง” พราหมณ์ผู้เป็นพ่อตอบ
“ท่านทั้งหลาย อันว่าลูกชายของผมเขาจากไปแล้ว ทิ้งร่างไว้เหมือนงูทิ้งคราบ การร้องไห้คร่ำครวญถึงคราบงูไม่มีประโยชน์ ฉันใด การเศร้าโศกถึงคนที่ตายไปแล้ว ก็ไม่เกิดประโยชน์อันใด ฉันนั้น”
“ท่านทั้งหลาย” ผู้เป็นแม่กล่าวขึ้น
“ลูกชายของฉันนี้ เมื่อเขามาเกิดในท้องฉัน เขาก็มาเอง ไม่มีใครเชื้อเชิญ เมื่อเขาจากไป ก็มิได้บอกลา ฉันจึงไม่อาลัย”
“ท่านทั้งหลาย” น้องสาวกล่าว
“แม้ฉันจะร้องไห้จนผ่ายผอม หรือร้องไห้จนน้ำตาเป็นสายเลือด พี่ชายของฉันก็คงไม่กลับฟื้นขึ้นมาเป็นแน่”
“ท่านทั้งหลาย” ภรรยาผู้ตายกล่าว
“ขึ้นชื่อว่าสามีที่ดี ใครๆ ก็ย่อมรักและหวงแหนเป็นธรรมดา แต่เด็กแม้จะร้องไห้เอาพระจันทร์บนท้องฟ้า ย่อมไม่ได้ ฉันใด การที่ฉันจะร้องไห้ เพื่อให้ได้สามีกลับฟื้นคืนมา ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น”
“ท่านผู้เจริญทั้งหลาย” นางทาสีกล่าว
“หม้อดินใส่น้ำที่แตกแล้ว ย่อมเชื่อมให้สนิทดังเดิมไม่ได้ ฉันใด การที่ฉันจะเศร้าโศกปริเวทนาการ ร่ำไรถึงนายที่จากไปแล้ว เพื่อให้กลับฟื้นคืนมาดังเดิม ย่อมเป็นไปไม่ได้ ฉันนั้น”